ความสำคัญและการควบคุมคุณภาพสารฟอกขาวในอุตสาหกรรมอาหาร

ความสำคัญและการควบคุมคุณภาพสารฟอกขาวในอุตสาหกรรมอาหาร

ข้อแนะนำในการลดการใช้ สารฟอกขาว ในอาหารตามที่ทาง อย. แนะนำ

สารฟอกขาว

สารฟอกขาว หรือโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่สามารถใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารบางประเภทได้ เพราะมีความปลอดภัยประมาณหนึ่ง แต่ก็ต้องมีการควบคุมคุณภาพและปริมาณในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีสารเคมีเหล่านี้ตกค้างในอาหารจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ ยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบ หืด อ่อนเพลียง่าย หรือผู้ที่ออกกำลังหนักๆ เมื่อได้รับสารเคมีชนิดนี้เข้าไปในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้เลย

อย่างที่เราเคยได้กล่าวไปแล้วในบทความ สารฟอกขาว คืออะไร มีประโชยน์อย่างไร นั้น สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ประเภทที่สามารถใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอหรืออุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ฯลฯ และอีกประเภทก็คือที่สามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ ตามที่โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า โคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission, CAC) อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ สามารถแบ่งออกได้อีก 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มสารประกอบซัลไฟต์ เช่น แคลเซียมซัลไฟต์, โซเดียมซัลไฟต์ และโพแทสเซียมซัลไฟต์
  2. กลุ่มสารประกอบไบซัลไฟต์ เช่น โพแทสเซียมไบซัลไฟต์ ซึ่งใช้ป้องกันการบูดเสียของอาหารได้ด้วย
  3. กลุ่มสารประกอบเมตาไบซัลไฟต์ เช่น โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์

โดย สารฟอกขาว ที่เป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่งที่ไม่ได้มีคุณสมบัติเป็นอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่น ทำให้อาหารดูสดน่ารับประทาน หรือคงรูปอยู่ได้นานขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้สำหรับฟอกสีอาหารให้เป็นสีขาวดูน่ารับประทาน เช่น น้ำตาลทรายขาว, ถั่วงอก, ขิงฝอย, ผักผลไม้ดอง, หน่อไม้ดอง หรือผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน, แป้งสาลี รวมถึงอาหารทะเลสดแช่แข็งด้วย เป็นต้น

รูปแบบของ สารฟอกขาว มีแบบใดบ้าง?

  • Potassium Metabisulfite : มีลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน
  • Sodium Metabisulfite : มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นฉุน
  • Sodium Sulfite : มีลักษณะเป็นผงสีขาว มีกลิ่นฉุน
  • Sulfur Dioxide : เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่ติดไฟ มีกลิ่นฉุน
  • Benzoyl Peroxide : มีลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี

โดยการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือ สารฟอกขาว ในอุตสาหกรรมอาหารนั้น จะมีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด จากที่ อย. ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 214 (พ.ศ.2543) มีรายละเอียดดังนี้

  1. กำหนดให้มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม
  2. กำหนดให้มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร เป็นมาตรฐานในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไวน์ ของ มอก. 2089-2544
  3. องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่าความปลอดภัยไว้ คือ ปริมาณที่ได้รับไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/คน/วัน (ADI : Acceptable Daily Intake)
  4. หากมีการใช้ สารฟอกขาว ในอาหารหรือเครื่องดื่มจะต้องระบุในฉลากอาหารด้วยทุกครั้ง

โดยซัลเฟอร์ไดออกไซด์นั้นในประเทศไทยเราอนุญาตให้ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น อาหารทะเลแช่แข็ง, น้ำตาล, เส้นก๋วยเตี๋ยวและวุ้นเส้น รวมถึงใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในการผลิตไวน์ และผลไม้อบแห้งด้วย ซึ่งข้อแนะนำในการลดการใช้ สารฟอกขาว หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอาหารตามที่ทาง อย. แนะนำให้ผู้บริโภคได้นำไปใช้กันแบบง่ายๆ ก็คือ ก่อนการนำอาหารแห้งบางชนิด อย่าง เห็ดหูหนูขาว หรือดอกไม้จีน ที่มักพบว่ามีการใส่สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากที่สุดนั้น ให้นำอาหารแห้งเหล่านี้ไปล้างน้ำสะอาดให้ไหลผ่าน หรือลวกในน้ำเดือดประมาณ 2 นาทีก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้ง จะช่วยลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ถึง 90%

นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งพร้อมทานที่มีขายตามห้างสรรพสินค้าหรือท้องตลาด เช่น พุทราจีนแห้ง หรือผลแอปริคอตแห้งนั้น ควรเลือกซื้อที่มีสีอ่อนๆ เพราะกระบวนการผลิตผลไม้อบแห้งต้องผ่านความร้อนสูง จะทำให้สีของผลไม้นั้นซีดจางลง ซึ่งหากเลือกที่มีสีสันสดใสสวยเกินไป อาจเป็นไปได้ว่าผลไม้อบแห้งเหล่านั้นมีการเจือปนของ สารฟอกขาว หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณมาก เพราะคุณสมบัติพิเศษของสารเคมีชนิดนี้สามารถช่วยยืดอายุการเก็บอาหาร และช่วยไม่ให้อาหารเปลี่ยนสีเมื่อผ่านความร้อนได้นั่นเอง

อันตรายจากการบริโภคสารฟอกขาว

โดยปกติแล้ว หากร่างกายของเราบริโภค สารฟอกขาว หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณที่พอเหมาะคือไม่เกินจากที่ อย. กำหนดนั้น ร่างกายของคุณเราจะสามารถขับสารเคมีนี้ออกมาได้เองจากทางปัสสาวะ แต่หากร่างกายได้รับสารนี้มากเกินไปจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายทำงานได้ลดน้อยลง นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ทำลายวิตามินB1 ที่ช่วยเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หากร่างกายขาดวิตามินB1 จะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

และหากร่างกายสะสมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณที่มากเกิน 30 กรัม จะทำให้เกิดอาการหายใจไม่สะดวก ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะและอาเจียน ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงเช่น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหอบหืดหรือผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจทำให้ช็อคหมดสติ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


ข้อห้ามและสิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้งาน สารฟอกขาว สำหรับผู้บริโภค

  • ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้สารเคมีชนิดนี้
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหืด ควรระวังการบริโภคอาหารที่มีสารฟอกขาว เพราะอาจทำให้หายใจขัดหรือหายใจลำบาก จนทำให้อาการของโรคหืดมีความรุนแรงมากขึ้น
  • ควรเลือกบริโภคอาหารที่ปริมาณสารฟอกขาวที่ระบุในฉลาก หากไม่มีฉลาก ควรสังเกตจากสีธรรมชาติ เช่น ผลไม้ที่ปอกเปลือกทิ้งไว้ ควรมีสีคล้ำขึ้น หรือ ถั่วงอกไม่ควรมีสีขาวจัด เป็นต้น
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แม้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า สารฟอกขาว มีอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์หรือทารก แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงหรือควรบริโภคในปริมาณไม่เกินค่า ADI ที่กำหนดไว้ นั่นเอง
  • สำหรับผู้สูงอายุเองก็เช่นกัน ควรบริโภคในปริมาณไม่เกินค่า ADI ที่กำหนด
  • สำหรับเด็ก ควรต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคสารเคมีชนิดนี้ รวมถึงวัตถุเจือปนอาหารอื่นๆ เพราะร่างกายของเด็กยังมีกลไกในการกำจัดของเสียได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ การบริโภค สารฟอกขาว จึงอาจทำให้ตับเด็กทำงานหนักจนเกิดตับอักเสบได้
  • หากมีการบริโภคสารฟอกขาวเข้าไปเป็นจำนวนมากเกินไป จนเกิดอาการความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ท้องเสียหรือหายใจลำบากหลังบริโภคอาหาร ให้รีบไปแพทย์โดยด่วน

 

ดังนั้น การควบคุมคุณภาพและปริมาณการใช้งาน สารฟอกขาว ในอุตสาหกรรมอาหารจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารควรควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์อยู่ในเกณฑ์หรือต่ำกว่าที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และสำหรับผู้บริโภคเองก็ควรให้ความสนใจและระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งรู้จักวิธีการลดความเสี่ยงด้วยการล้างน้ำสะอาดหรือลวกในน้ำเดือด ก็จะช่วยให้คุณเลี่ยงที่จะต้องบริโภคสารเคมีชนิดนี้ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพไปได้เยอะเลยทีเดียว


สำหรับบริษัทหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องใช้ สารฟอกขาว หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ RHK Group เราเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสารเคมี เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม หรือแม้กระทั้งอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ฟอกหนัง หรือการผลิตกระดาษ ฯลฯ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศให้คุณได้เลือกใช้กับอุตสาหกรรมของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยแน่นอน


ติดต่อสอบถามข้อมูล สารฟอกขาว หรือสั่งซื้อสินค้า

https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com