คำถามที่พบบ่อย

ถามตอบทุกข้อสงสัยจากผู้ผลิตน้ำกลั่น และจำหน่ายเคมีภัณฑ์บริษัทอาร์ เอช เค กรุ๊ป

ถามตอบทุกข้อสงสัยจากผู้ผลิตน้ำกลั่น

สัดส่วนการใช้ ตามไฟล์แนบ

2 ชนิด 1.สารส้มใส (Ammonium Alum) 2. สารส้มขุ่น (Aluminium Sulphate)

ได้ถ้าท่ออุดตันจากไขมันสะสม

ใช้กรดเกลือ (Hydrochloric Acid) ล้างเพราะจะทำปฏิกริยาได้มีกับหินปูน

เจือปนอาหารได้ เพราะเป็นกรดสำหรับใส่อาหาร

ใช้ได้กับอุตสาหกรรมยางพารา

เคมีภัณฑ์สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียประกอบด้วย

  • กรดซัลฟิวริก H₂SO₄ 50-98 %
  • โซดาไฟ NaOH 50-98 %
  • สารเคมีลดฟอง Antifoam
  • คลอรีนน้ำ 10 %
  • สารส้ม Alum 8 %
  • PAC (Poly Aluminum Chloride) 10-30%
  • ปูนขาว (Quick lime)
  • Polymer Anionic & Cationic.
  • Ferric Chloride 40-46%

น้ำกลั่น คือ น้ำที่มีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ (Electric Conductivity) มีสิ่งเจือปนในน้ำค่อนข้างน้อย ทำให้คุณสมบัติการนำไฟฟ้าในน้ำกลั่นน้อยตามไปด้วย สามารถนำไปใช้ในการทำยา เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริมได้ แต่เหมาะสำหรับการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือใช้ในการเติมลงในแบตเตอรี่รถยนต์

น้ำกลั่นที่ใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์มี 2 สี: สีชมพู ช่วยลดความร้อน ให้กับแบตเตอรี่ เหมาะสำหรับรถยนต์ที่จอดนาน และแบบไม่มีสี เน้นใช้งานในภาคอุตสาหกรรม แต่สามารถใช้ในรถยนต์ได้เช่นกัน

น้ำกลั่นที่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ไม่มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ จึงไม่เหมาะสำหรับการบริโภค เพราะอาจทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสียหายได้หากดื่มในระยะยาว

สารส้มถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สิ่งทอ การทำน้ำประปา ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นขนมจีน ผักดองต่างๆ ฟอกหนัง ย้อมผ้า ผสมเป็นยาดับเพลิง สารดับกลิ่นต่างๆ รวมทั้งยาสีฟันสมุนไพร และบำบัดน้ำเสียในโรงงาน เป็นต้น

การใช้สารส้มอาจไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในระยะยาว โดยมีงานวิจัยบางชิ้นพบว่าสารส้มโพแทสเซียม มีความเชื่อมโยงกับการมีอะลูมิเนียมในเนื้อเยื่อเต้านม จึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการพัฒนามะเร็งเต้านมได้ แต่ถ้าหากใช้อย่างถูกวิธีก็มีประโยชน์มากมายเช่นกัน

โซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide - NaOH) มีสูตรเคมี NaOH เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือเม็ดสีขาว มีความสามารถในการละลายน้ำได้ดี และมีคุณสมบัติเป็นเบสแก่

โซดาไฟ สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ทั้งในการผลิตสบู่ ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ อุตสาหกรรมกระดาษ กระดาษแก้ว เส้นใย อลูมิเนียม ปิโตรเลียม แม้แต่อุตสาหกรรมอาหารก็สามารถใช้โซดาไฟได้เช่นกัน

โซดาไฟมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงและสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และระบบทางเดินหายใจได้

โซดาไฟสามารถใช้ทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งได้ โดยมีคุณสมบัติในการละลายสิ่งอุดตัน เช่น ไขมัน และสารอินทรีย์ต่างๆ

กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) มีสูตรเคมี HCl เป็นสารละลายที่มีความเป็นกรดสูง สามารถละลายได้ในน้ำและมีคุณสมบัติกัดกร่อน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้หลากหลาย

สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นสารเคมีในกระบวนการผลิต ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใช้เพื่อฟอกหนัง ใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยาทางเคมี สามารถใช้ปรับสภาพความเป็นกรดในการบำบัดน้ำเสียล้างคราบสนิม คราบตะไคร่ หรือคราบสกปรกต่างๆ ได้ดี

สามารถนำกรดไนตริกมาประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสมของสารสำหรับป้องกัน และกำจัดเชื้อรา หรือปุ๋ย ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ใช้เป็นสารอาหารในพืชที่ปลูกแบบไฮโดรโฟนิก ใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ ใช้ทางการทหาร และใช้ในโรงงานผลิตทองคำ เป็นต้น

กรดซิตริก สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้อย่างหลากหลาย เช่น

  • ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับปรุงแต่งรสชาติ เพื่อให้เกิดรสเปรี้ยว
  • ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สำหรับผลิตภัณฑ์จำพวกผลัดเซลล์ผิว
  • ใช้ในอุตสาหกรรมยาและการแพทย์ นำมาใช้ทำหน้าที่ให้ควบคุมความเป็นกรดด่างในยา
  • ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำยาทำความสะอาด ในการผลิตน้ำยาซักผ้าและน้ำยาปรับผ้านุ่ม

กรดซิตริก มีอยู่ในผลไม้ หลายชนิดที่มีรสเปรี้ยว เช่น เลมอน สัปปะรด ส้มโอ แต่พบมากที่สุดในมะนาว แต่กรดซิตริกที่ผลิตขึ้นมาส่วนใหญ่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิต

กรดซิตริก สามารถผลิตได้จาก การสังเคราะห์ผ่านกระบวนการหมักแป้งและน้ำตาล โดยผ่านการไกลโคไลซีส (Glycolysis Pathway) จนได้เป็นลักษณะเป็นผงสีขาวใส มีรสเปรี้ยว ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ

หากเราได้รับกรดซิตริก เข้าไปในร่างกายในปริมาณ ไม่ว่าจะผ่านการรับประทาน การทา หรือการสูดดม ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน

น้ำกลั่น Deionized Water มีความบริสุทธิ์มากกว่า เพราะผ่านกระบวนการกรองมากถึง 3 ชั้น

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมการผลิตยาและเภสัชกรรม, อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมชุบเคลือบผิวโลหะ เครื่องไดร์คัท เครื่องเลเซอร์ที่ต้องใช้น้ำกลั่นในการหล่อเย็น และ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น

ปูนขาวหรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารเคมีที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมออกไซด์ (CaO) กับน้ำ (H₂O) มีลักษณะเป็นผงสีขาวหรือสีขาวนวล และละลายในน้ำได้

ปูนขาวถือว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานทั่วไป แต่ต้องระวังการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือแสบร้อน ในระหว่างใช้งานควรใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือและแว่นตา

ปูนขาว สามารถนำมาใช้ในการทำอาหารในปริมาณที่ปลอดภัยได้ เช่น ในการทำผลไม้ดองหรือการทำแป้ง แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเสมอ

คลอรีนน้ำ หรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์ เป็นสารเคมีที่มีสูตรเคมีประกอบไปด้วยโซเดียม (Sodium : Na) และไฮโปคลอไรท์ (Hypochlorite : ClO-) มีลักษณะเป็นของเหลวสีใสหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นคลอรีนเฉพาะตัว ใช้เป็นสารฟอกขาวและฆ่าเชื้อ

ต่าง ซึ่งคลอรีนน้ำและคลอรีนทั่วไปมีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัน จึงถือเป็นสารเคมีคนละชนิด แต่มีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากมีคุณสมบัติและความสามารถบางประการเหมือนกัน

คลอรีนน้ำสามารถใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่มได้ โดยการผสมในปริมาณที่เหมาะสม ปล่อยให้น้ำพักไว้เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรค ก่อนนำไปกรองเพื่อบริโภค

คลอรีนน้ำ สามารถนำไปใช้เพื่อทำให้สระว่ายน้ำปราศจากเชื้อโรค แบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ โดยจะช่วยรักษาสมดุลค่า pH ของน้ำให้มีความสะอาดและป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้

สำหรับสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีอยู่ 3 ชนิด คือ กรดเกลือ กรดซัลฟิวริก และเกลือล้างเรซิน

ใช้ในกระบวนการฟอกและย้อมสี รวมถึงกระบวนการผลิตเส้นใยในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ และอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น

เป็นน้ำที่ผ่านระบบการกรองจนไม่มีสารหรือสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่เลย มีความบริสุทธิ์มาก สามารถนำไปใช้อุปโภคบริโภคได้

น้ำ ro ผ่านการกรอง 3 ชั้น คือ ผ่านถังกรองคาร์บอน, ผ่านไส้กรองหยาบ 5 ไมครอน และกรองผ่านไส้กรอง Membrane ของระบบ RO

กรดอะซิติก (CH₃COOH) เป็นกรดออร์แกนิกที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นเปรี้ยวและรสเปรี้ยว เป็นสารเคมีที่มีในน้ำส้มสายชูซึ่งใช้ในครัวเรือน

สารกันบูด เป็นสารที่เติมลงในน้ำอัดลม อาหารสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางชนิด เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารขึ้นรา

อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว, ยา, อุตสาหกรรมน้ำมันเครื่อง

Q: กรดฟอสฟอริก คืออะไร?
A: กรดฟอสฟอริก เป็นหนึ่งในกรดแร่ที่สำคัญและมีประโยชน์มากที่สุดในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ใช้ในการผลิตปุ๋ย, อาหารสัตว์, เกลือฟอสเฟต และอื่นๆ อีกมากมาย จัดอยู่ในประเภทของกรดอ่อน

กรดฟอสฟอริกส่วนใหญ่ใช้ในการปรับหรือควบคุมระดับ pH ทั้งในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และเครื่องสำอางบางชนิด รวมถึงยาสีฟัน สบู่และผงซักฟอก เช่นกัน

หากเราบริโภค สารฟอกขาวในปริมาณที่ไม่เกินจากที่ อย. กำหนด ร่างกายจะสามารถขับสารเคมีนี้ออกมาได้เองจากทางปัสสาวะ แต่หากร่างกายได้รับสารนี้มากเกินไปจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายทำงานได้ลดน้อยลง ซึ่งส่งผลอันตรายอย่างมาก

มี 1 สาขา ตั้งอยู่ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ซอยบุญล้อม เข้าซอยประมาณ 250 ม.เจอทางเบี่ยงขวา ให้เลี้ยวซ้ายตรงทางเบี่ยง ตรงเข้ามาอีก 30 เมตร บริษัทอยู่ทางซ้ายมือ

การสั่งซื้อสินค้าจาก บริษัทอาร์ เอช เค กรุ๊ป จำกัด สามารถทำได้ 3 ขั้นตอน คือ
ส่งคำสั่งซื้อโดยแนบ PO มาทาง FAX 02-394-0223 หรือ E-mail: mktg@rhkchemical.com
เมื่อได้รับคำสั่งซื้อแล้วทางบริษัทจะทำการติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง
กรุณาให้ข้อมูลเช่น เบอร์ติดต่อ หรือ อีเมล ที่ชัดเจนและสามารถติดต่อได้จริงเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด

หากสั่งจำนวนน้อย จะจัดส่งโดย Grab , lalamove ลูกค้าที่อยู่ในกรุงเทพจะได้รับสินค้าภายใน 1-2 วัน

หากสั่งสินค้าจำนวนมาก การจัดส่งสินค้าโดยรถบรรทุก 4-10 ล้อ