สารพัดประโยชน์ของสารส้มในอุตสาหกรรม
ย้อนไปก่อนที่บ้านเราจะมีน้ำประปาใช้กัน คนสมัยโบราณจะใช้น้ำจากลำธารบ้าง หรือไม่ก็รอน้ำเวลาฝนตกเอาไว้ใช้บ้าง โดยภาชนะที่คนสมัยก่อนนิยมใช้กันคือ “โอ่ง” โอ่งมีไว้เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในครัวเรือน แต่คุณภาพน้ำจากลำธารหรือจากน้ำฝนเอง บางครั้งมันไม่ได้สะอาดหรือใสพอที่จะนำไปรับประทาน ประกอบอาหาร หรือใช้ในชีวิตประจำวัน จึงเกิดภูมิปัญญาชาวบ้านขึ้นมา โดยคนสมัยก่อนจะนำสารส้มไปแกว่งในน้ำ แล้วทิ้งให้ตะกอนนอนที่ก้นโอ่ง จึงจะได้น้ำสะอาด ไว้ดื่ม ปรุงอาหารและอาบน้ำ
สารส้ม หรือ Alumen (ภาษาละติน)
คือ เกลือชนิดหนึ่งที่มีแร่ธาตุที่ชื่อว่า อะลูมิเนียมและซัลเฟตอยู่ในนั้น มีลักษณะเป็ผลึกก้อนสีขาว ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสเปรี้ยว ละลายน้ำได้ดี สารส้มสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ ตามพิน ตามภูเขา ส่วนใหญ่แล้วสารส้มที่พบในประเทศไทยมักเป็นสารส้มที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ชาวบ้านมักจะเรียกว่า “ดินส้ม” พบมากที่เขาภูสวรรค์ จังหวัดเลย
โดยทั่วไปแล้ว สารส้ม ส่วนใหญ่ที่รู้จักกันก็คือ โพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟตในรูปแบบไฮเดรต และมีสูตรทางเคมีคือ KAl(SO4)2·12H2O บางครั้งพบในรูปผลึกหรือเป็นผงสีขาวละเอียดที่มักจะนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการดอง และที่เราคุ้นชินภาพลักษณ์ของมันมากที่สุดคือเป็นแบบคริสตัลขนาดใหญ่เพื่อใช้ "ระงับกลิ่นกาย" สำหรับใต้วงแขน แต่ในประเทศไทย สารส้มที่ผลิตจากแร่โพแทสเซียม ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากขั้นตอนการผลิตที่ใช้แร่โพแทสเซียมมีต้นทุนค่อนข้างสูง สารส้มที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็น แอมโมเนียมอัลลัม( Ammonium Alum )หรืออาจจะจะเรียกชื่อเต็มทางเคมีว่า Ammonium Aluminium Sulfate และมีสูตรทางเคมีคือ (NH4)Al(SO4)2 . 12H2O เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า การใช้โพแทสเซียมเป็นสารตั้งต้น สารส้มชนิดดังกล่าว เป็นที่รู้จักและเรียกกันทั่วไปว่า”สารส้มชนิดใส”
แหล่งที่มาและการผลิตสารส้ม
ย้อนกลับไปเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล สารส้มถูกขุดขึ้นมาโดยเป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในแร่ธาตุต่างๆ ตัวอย่างเช่น โพแทสเซียมสารส้มพบได้ในแร่ธาตุคาลิไนต์ อะลูไนต์ และลิวไซต์ ซึ่งสามารถบำบัดด้วยกรดซัลฟิวริกเพื่อให้ได้ผลึกของสารส้ม และในศตวรรษที่ 13 มีการผลิตในยุโรปโดยการเผาหินจำนวนมหาศาลจนเหลือแต่ผงสีขาว จากนั้นจึงผ่านน้ำก่อนที่จะเติมแอมโมเนียเพื่อแยกธาตุเหล็กซัลเฟต จนเหลือผลึกอะลูมิเนียมซัลเฟตแอมโมเนียบริสุทธิ์จะก่อตัวขึ้นและสามารถรวบรวมได้เป็นสารส้ม
วิธีการผลิตทั่วไปคือการบำบัดแร่บอกไซต์ด้วยกรดซัลฟิวริกและโพแทสเซียมซัลเฟต แอมโมเนียม โดย สารส้ม จะเกิดจากการระเหยของสารละลายน้ำที่มีแอมโมเนียมซัลเฟตและอะลูมิเนียมซัลเฟต นอกจากนั้นยังสามารถผลิตได้จากการตกตะกอนจากสารละลายที่เป็นน้ำ เช่น อะลูมิเนียมซัลเฟตและโพแทสเซียมซัลเฟต จะละลายในน้ำและเมื่อระเหย ก็จะได้ผลึก สารส้ม ออกมาจากสารละลาย
นอกจากสารส้มที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้ว สารส้มยังสามารถผลิตขึ้นมาได้โดยฝีมือมนุษย์ เนื่องจาก สารส้มตามธรรมชาติมีไม่มากพอที่จะนำมาใช้ในงานเชิงพาณิชย์ บริษัทต่างๆ จึงมีการคิดค้นผลิตสารส้มขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ
คุณสมบัติของสารส้ม
- ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
- ไม่เปื้อนเสื้อผ้า
- ปลอดภัยต่อร่างกาย
- ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
- ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ปกติแล้ว เรามักจะคุ้นกับสารส้มที่มีลักษณะเป็นผลึกก้อนสีขาว แต่สารส้มในรูปแบบผงก็มีขายในท้องตลาดเช่นกัน สารส้มสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ประเภทของสารส้มและการใช้งาน
- สารส้มโพแทสเซียม
สารส้มโพแทสเซียมนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “สารส้มโพแทชเซียม” หรือ TAWAS มีส่วนผสมของโพแทสเซียมซัลเฟตอลูมิเนียม เป็นสารส้มที่เราจะเห็นบ่อยๆ ตามร้านขายของชำ ส่วนมากไว้ใช้ทำให้น้ำบริสุทธิ์ ฟอกหนัง ย้อมสี ทำผงฟู และยังเป็นการรักษาสิ่งทอทนไฟ นอกจากนี้ ยังพบใช้ทำเป็นเครื่องสำอางค์ เช่น ยาระงับกลิ่นกาย หรือใช้เป็นยาบำรุงสำหรับผู้ชายหลังโกนหนวด
- สารส้มโซดา
สารส้มโซดาหรือโซเดียมอะลัม นิยมนำมาใช้เป็นผงฟูและเป็นกรดในอาหาร - สารส้มแอมโมเนียม
สารส้มแอมโมเนียมมีราคาถูก มีการใช้งานเฉพาะกลุ่ม หลักๆ คือใช้ในการทำน้ำให้บริสุทธิ์ ใช้ในการดับกลิ่น ฟอกหนัง ย้อมสี สิ่งทอกันไฟ ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์
- สารส้มในโครเมียม
โครเมียมสารส้มมีสีม่วงเข้ม นิยมใช้ในการฟอกหนัง และสามารถนำไปผสมกับสารส้มอื่นๆ เพื่อเพิ่มผลึกสีม่วงหรือลาเวนเดอร์ - Selenate Alums
เป็นสารประกอบซัลเฟตที่มีส่วนผสมของซีลีเนียม เป็นสารออกซิไดซ์ที่มีความรุนแรงมาก นิยมนำไปใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรค - อลูมิเนียมซัลเฟต
นิยมใช้ในการย้อมสีเสื้อผ้า ทำโฟม ทำเสื้อป้องกันไฟ และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตอีเทน ควบคุมค่า pH ในอุตสาหกรรมกระดาษ ยังสามารถใช้เป็นสารป้องกันน้ำในคอนกรีต ใช้เป็นสารหล่อลื่น ดับกลิ่น และสีในปิโตรเลี่ยมรีไฟนิ่ง
แน่นอนว่า สารส้มมีสรรพคุณทางยาด้วย ในสมัยโบราณสารส้มถูกนำมาเป็นส่วนผสมในการทำยารักษาโรค ใช้สมานแผลทั้งภายนอกและภายใน แก้ระดูขาว หนองในและหนองเรื้อรัง ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปอดอักเสบ แก้รำมะนาด เหงือกเป็นแผล ช่วยรักษาแผลในช่องปาก สามารถใช้ห้ามเลือดในบาดแผลเล็กๆ ได้ ใช้เป็นยากัดฝ้าก็ได้ ล้างแผลในหู และที่พวกเราคุ้นเคยกันดีคือนำสารส้มมาใช้ในการระงับกลิ่นกาย และแกว่งน้ำให้ใส นี่คือสรรพคุณทางยาของสารส้มที่คนโบราณนำมาใช้ประโยชน์กัน
แต่ก่อนนำสารส้มไปปรุงยาได้นั้น ต้องผ่านการสะตุเสียก่อน การสะตุคือขั้นตอนการลดความเป็นพิษในสารส้มลง ให้เหลือเฉพาะสรรพคุณทางยา โดยการสะตุจะทำโดยนำสารส้มมาบดให้แตกละเอียด ตั้งกระทะติดไฟให้ร้อนแล้วเอาสารส้มที่เป็นผงละเอียดโรยบางๆ ลงไปในกระทะ สารส้มจะฟูขึ้นมา เมื่อฟูเต็มทีแล้วให้ยกออกจากเตาและปล่อยทิ้งเอาไว้สักครู่ พอตัวสารส้มเย็นลงแล้วค่อยขูดเอาสารส้มนั้นมาใช้
การใช้ สารส้ม ในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่เกิดจากการไฮโดรไลซิสของไอออนอะลูมิเนียม ซึ่งส่งผลให้เกิดการตกตะกอนของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ สารเคมีนี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยา, อุตสาหกรรมสิ่งทอง, การย้อมสี, และการทำกระดาษ นอกจากนั้นยังนำไปใช้ในการทำยาดอง, ผงฟูในถังดับเพลิงและใช้เป็นยาสมานแผล
นอกจากนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำยาแล้ว สารส้มยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีก ไปดูกันต่อว่า สารส้มใช้ทำอะไรอีกได้บ้าง
- ใช้แก้ส้นเท้าแตก - โดยการเอาสารส้มมาทาที่บริเวณส้นเท้าที่แตก จะสามารถบรรเทาอาการส้นเท้าแตกได้
- ใช้ลดอาการคัน - อาการคันที่เกิดจากยุงกัด มดกัน หรือแมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำสารส้มมาทาบริเวณที่โดนกัดหรือคัน สารส้มจะช่วยรักษาอาการคันได้
- ใช้ประโยชน์ทางยาตำรับไทยโบราณ - ประโยชน์ของสารส้มทางยา แก้หนองใน แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ช่วยถอนพิษ หากเกิดเหตุการณ์รับประทานของมีพิษเข้าไป สามารถใช้สารส้มช่วยได้ โดยสารส้มจะทำให้อาเจียนขับเอาพิษออกมา
- ใช้ดับกลิ่นเหม็น - ทั้งกลิ่นเหม็นคาวต่างๆ และกลิ่นกาย เช่นเครื่องในสัตว์
- ใช้ในอุตสาหกรรม - สารส้มถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สิ่งทอ การทำน้ำประปา ฟอกหนัง ย้อมผ้า ผสมเป็นยาดับเพลิง สารดับกลิ่นต่างๆ ในโรงงาน เป็นต้น
สารส้ม มีความปลอดภัยหรือไม่?
คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม (EWG) ตั้งข้อสังเกตว่าสารส้มโพแทสเซียมอาจไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในระยะยาว โดยมีงานวิจัยบางชิ้นพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสารระงับกลิ่นกายที่มีสารส้มโพแทสเซียมกับอัตราการเป็นมะเร็งเต้านม โดยมีการทดลองของผู้หญิงกว่า 400 คนพบว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อที่มีอะลูมิเนียมเป็นประจำ มีความเชื่อมโยงกับการมีอะลูมิเนียมในเนื้อเยื่อเต้านม โดยผู้เข้าร่วมที่เป็นมะเร็งเต้านมนั้น มีความเข้มข้นของอะลูมิเนียมในเนื้อเยื่อเต้านมสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดีโดยไม่มีโรค ซึ่งบ่งชี้ว่านี่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการพัฒนามะเร็งเต้านม แต่ก็มีนักวิจัยบางคนไม่เห็นด้วยกับการค้นพบนี้ และยังต้อศึกษาวิจัยต่อไป
แต่ถึงกระนั้นเอง เมื่อดวงตาของคุณได้สัมผัสกับ สารส้ม ก็สามารถเกิดอาการระคายเคืองได้ ฉะนั้นจึงควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออกทันที และล้างตาอย่างต่อเนื่องด้วยน้ำสะอาดเป็นเวลา 15-20 นาที หากมีคนกลืนเข้าไปอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องไส้ปั่นป่วนได้ และหากกลืน สารส้ม เป็นจำนวนมาก อาจทำให้การทำงานของไตบกพร่องได้
สารส้มมีสรรพคุณที่มีประโยชน์มากมายทั้งต่อคนและต่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ถ้าเลือกใช้ให้ถูกประเภทจะเกิดประโยชน์มากมาย แต่หากใช้โดยไม่มีความรู้อาจทำให้เกิดโทษได้เช่นกัน ฉะนั้น แนะนำว่าควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนการใช้สารเคมีอันตราย
เห็นหรือไม่ว่า สารส้มที่เรามองข้ามนั้น แม้จะมีรูปร่างหน้าตาไม่น่าดูสักเท่าไหร่ แต่คุณประโยชน์มหาศาล บริษัท อาร์ เอช เค กรุ๊ปจำกัด เราเล็งเห็นถึงสารพัดประโยชน์ในสารส้มที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ เราเป็นผู้จัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย สารเคมีสำหรับอุตสาหกรรมและน้ำกลั่น ไม่ว่าจะเป็น คลอรีน กรดเกลือ โซดาไฟ ฯลฯ และมีบริการจัดส่งทั่วประเทศ
ด้วยประสบการณ์กว่า 18 ปี บริษัท อาร์ เอช เค กรุ๊ป ผู้ผลิตน้ำกลั่นและสารเคมี เรามีทีมงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมีสำหรับใช้อุตสาหกรรมคอยให้คำปรึกษา สินค้าเราได้มาตรฐาน มีคุณภาพสูง
ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า
https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com